มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูก
7286Visitors | [0000-00-00] 

มะเร็งปากมดลูกและ Human papilloma virus (HPV)

ความสำคัญ

-         Human papilloma virus หรือ HPV เป็นกลุ่มเชื้อไวรัสที่พบบ่อยทั่วโลก

-          Human papilloma virus (HPV)มีทั้งสิ้นกว่า 100 ชนิด แต่มีอย่างน้อย 13 ชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง

-          Human papilloma virus (HPV) ส่วนใหญ่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์และคนส่วนใหญ่จะติดเชื้อ HPV นี้หลังจากเริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้ไม่นาน

-          มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ Human papilloma virus (HPV)บางชนิดทางเพศสัมพันธ์

-          Human papilloma virus (HPV) 2 ชนิดคือชนิดที่16และ18 เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกได้ร้อยละ 70

-          มะเร็งปากมดลูกพบบ่อยเป็นอันดับสองในผู้หญิงรองจากมะเร็งเต้านม

-          Human papilloma virus (HPV) ยังพบว่ามีความเกี่ยวโยงกับมะเร็ง ของอวัยวะเพศชาย หญิง มะเร็งช่องคลอดและ มะเร็งทวารหนัก    

-         วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV016 และ 18   ได้รับการยอมรับและนำไปใช้แล้วในหลายประเทศเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูก

Human papilloma virus (HPV) และการก่อโรค มะเร็งปากมดลูก

Human papilloma virus (HPV) เป็นการติดเชื้อที่พบบ่อยในระบบสืบพันธุ์ ชายและหญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์หรือช่วงที่มีเพศสัมพันธ์จะติดเชื้อนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งและมีหลายคนที่มีการติดเชื้อซ้ำๆ ส่วนใหญ่จะพบว่ามีการติดเชื้อนี้ในชายและหญิงหลังจากเริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้ไม่นาน เชื้อ HPV จะติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการการสัมผัสของผิวหนังของอวัยวะสืบพันธุ์ (skin to skin)

เชื้อ HPV มีกว่า 100 ชนิด  ส่วนใหญ่จะไม่ก่อปัญหา เมื่อติดเชื้อแล้วจะหายได้เองกว่าร้อยละ 90 ภายใน 2 ปี มีเพียงส่วนน้อยที่ติดเชื้อ HPV บางชนิดที่จะไม่หายและจะก้าวสู่การเป็นมะเร็ง ซึ่งเป็นที่ทราบกันแล้วว่ามะเร็งปากมดลูกเกือบทุกรายเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ HPV

ในผู้หญิงปกติที่มีการติดเชื้อ HPV จะใช้เวลาประมาณ 15 ถึง 20ปี ที่จะเกิดมะเร็งแต่ในคนที่ภูมิคุ้มกันต่ำจะใช้เวลา5ถึง10ปี

ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่ช่วยทำให้เชื้อ HPV   คงอยู่ในร่างกาย ไม่หายไปและกลายเป็นมะเร็งได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์อายุน้อย การมีคู่นอนหลายคน สูบบุหรี่ ภูมิต้านทานต่ำ

อาการและการแสดงอาการ

เมื่อติดเชื้อ HPVส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอะไร และการติดเชื้อจะหายได้เองกว่าร้อยละ 90  แต่มีการติดเชื้อ HPVบางชนิด เช่นชนิดที่ 16 และ18 ที่เชื้อจะอยู่ในร่างกายและทำให้เกิดแผลที่จะกลายเป็นมะเร็งได้  ถ้าไม่ได้รับการรักษาแผลนี้จะกลายเป็นมะเร็งในที่สุด แต่การเปลี่ยนแปลงนี้ใช้เวลาหลายปี

อาการผิดปกติที่พบเมื่อเป็นมะเร็งปากมดลูกได้แก่

เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการร่วมเพศ

ตกขาวมีสีและมีกลิ่นผิดปกติ

ปวดหลัง ปวดขา อ่อนเพลียน้ำหนักลด

การป้องกันและรักษามะเร็งปากมดลูก

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้หลายวิธีในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกประกอบด้วย

1.การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV 16  18  ในเด็กหญิงอายุ 9 ปี- 13ปี ก่อนที่จะ

เริ่มมีเพศสัมพันธ์

2.ประชาชนจะต้องรู้จักและใช้วิธีการร่วมเพศที่ปลอดภัย มีการใช้ ถุงยางอนามัย ไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ไม่สำส่อนหรือมีคู่นอนหลายคน

3.ประชาชนไม่สูบบุหรี่ โดยเฉพาอย่างยิ่งวัยรุ่น  เนื่องจากบุหรี่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก

4.การขลิบปลายอวัยวะเพศในผู้ชาย

5 ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ตั้งแต่อายุ 30 ปีควรจะรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทั้งวิธี Pap smear  และ  VIA

6.หากพบความผิดปกติของปากมดลูกเช่นพบแผล พบเซลล์ผิดปกติจะต้องได้รับการรักษา

7. เมื่อพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกจะต้องรับการรักษาเช่นการผ่าตัด การฉายแสง

แปลจาก WHO Fact sheet N 380   Human papilloma virus (HPV) and cervical cancer          http:/www.who.int/mediacenterfactsheets/fs380/en/

สมาคมแพทย์สตรีฯ กับการป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

สมาคมแพทย์สตรีฯ เปิดบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear และการตรวจหาความผิดปรกติของเต้านมด้วยวิธีอย่างง่าย ทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่1และสัปดาห์ที่3    ของเดือน ฟรี ที่อาคารแพทย์โกศลชั้น2 สมาคมแพทย์สตรี ถนนสุขุมวิท ตรงข้ามวัดธาตุทอง กรุงเทพ

การฉีดวัคซีน     Human papilloma virus (HPV) ป้องกันมะเร็งปากมดลูก

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก จะต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็ม  เดือนละ 1 เข็ม ปัจจุบันนี้มีบริการในโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่ง ราคาเข็มละประมาณ 1000-2000 บาท สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ร้อยละ 70  ผู้ที่เหมาะสมต่อการฉีดวัคซีนคือผู้หญิงที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดในเด็กสาวอายุ 9ปีขึ้นไป ซึ่งยังไม่มีเพศสัมพันธ์  ปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าวัคซีนจะป้องกันโรคได้นานเป็นเวลาเท่าใด จะต้องฉีดซ้ำอีกเมื่อใด