แพทย์สตรีตัวอย่าง2558 แพทย์หญิงอารยา ทองผิว แพทย์สตรีตัวอย่าง2558 แพทย์หญิงอารยา ทองผิว
7505Visitors | [0000-00-00] 

แพทย์สตรีตัวอย่าง 2558แพทย์หญิง อารยา ทองผิว                                                                                                

1.         ประวัติส่วนตัวและครอบครัว

 
ชื่อ       นางอารยา   นามสกุล  ทองผิว   อายุ  72 ปี
 
สถานที่ปฏิบัติงาน     แพทย์ที่ปรึกษา อายุรกรรม ต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน
 
           
 
2.    วุฒิการศึกษาและสถาบันที่สำเร็จการศึกษา / ฝึกอบรม
 
·       โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์ คอนแวนต์
 
·       โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
 
·       คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ รุ่นที่ 1 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยมหิดล
 
·       คณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล
 
·       Certificate in Internal Medicine, New York University Medical Center
 
·       Certificate in Endocrinology, New York University Medical Center
 
·       หลักสูตรแพทย์ศาสตร์ศึกษา (Medical Education)
 
·       กระบวนการคุณภาพ จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (Health Care Accreditation)
 
 
 
3.   ประวัติการทำงาน
 
1.         การดูแลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน สาขาอายุรกรรมต่อมไร้ท่อ
 
2.         หัวหน้าแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน พ.ศ. 2542 – 2544
 
3.         ประธาน Continuing Medical Education Committee พ.ศ. 2538 – 2540
 
4.         ประธาน Patient Care Team ผู้ป่วยใน พ.ศ. 2540 – 2542
 
5.         ประธาน Mortality – Morbidity Committee พ.ศ. 2540 – 2544
 
6.         ประธาน Pharmacy and Therapeutic Committee พ.ศ. 2543 – 2544
 
7.         ประธาน Risk Committee พ.ศ. 2544
 
8.         ประธาน Medical Staff Organization พ.ศ. 2544 – 2545
 
9.         ปัจจุบัน ที่ปรึกษาด้านคุณภาพ ของ Quality Executive Committee รพ.เปาโล พหลโยธิน ให้ความรู้ด้าน DM Patient Care Team รวมแนวทางเวชปฏิบัติที่ดี ด้านการพัฒนาคุณภาพ Excellence Service Behavior และการดูแลลูกค้า
 
 
 
4.   การทำงานเพื่อวงการแพทย์นอกโรงพยาบาล
 
1.         นายกสมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน (The Association of Thai Diabetes Educator) พ.ศ. 2545 – 2548  ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาของสมาคมฯ เขียนคอลัมน์ประจำทุก 3 เดือน และเป็นวิทยากรในทีม ของสมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน ทั้งจัดที่สมาคมและต่างจังหวัดทั่วประเทศ
 
2.         ร่วมพัฒนารูปแบบการเก็บตัวชี้วัดในโครงการ Toward Clinical Excellence Network (TCEN) สำหรับโรคเบาหวาน ซึ่งได้รับการพัฒนาต่อไปเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารทีมงานผู้ดูแลโรคเบาหวาน   ในแนวทางเวชปฏิบัติ พ.ศ. 2554 และ 2557
 
3.         ร่วมโครงการ Knowledge Management DM กับกรมการแพทย์ สถาบันรับรองคุณภาพสถาน พยาบาล สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสำนักงานการจัดการความรู้เพื่อสังคม
 
4.         กรรมการบริหารเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ รับผิดชอบแผนงาน พัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติในการเลิกเสพยาสูบสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และร่วมเป็นกองบรรณาธิการวารสาร ฟ้าใสไร้ควัน รวมทั้งเขียนคอลัมน์ประจำทุก 3 เดือน
 
5.         ประสานงานความร่วมมือระหว่างสถานบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (HA) สมาคมผู้ให้ ความรู้โรคเบาหวาน  เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ และสมาคมแพทย์สตรีแห่ง ประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
 
6.         ประสานงานสมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ กับเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ เพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ จัดการฝึกอบรมเรื่องพิษภัยของบุหรี่ และวิธีการให้คำปรึกษาให้ชมรม ผู้สูงอายุในอุปถัมภ์ของสมาคม
 
7.         คณะกรรมการเยี่ยมสำรวจ เพื่อการตัดสินรางวัล Terumo Diabetes Patient Care Team Award พ.ศ. 2548 – 2557
 
8.         วิทยากร HA National Forum ด้าน DM ในนามของโรงพยาบาล และเครือข่าย Knowledge Management DM พ.ศ. 2549 – 2558
 
9.         วิทยากรใน HA National Forum ด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ และด้านการเลิกบุหรี่ใน โรคเรื้อรัง  ในนามเครือข่ายวิชาชีพ แพทย์เพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ พ.ศ. 2553 – 2558
 
10.      วิทยากรพิเศษ เรื่องความดันโลหิตสูง และเป็นที่ศึกษางานด้านเบาหวานและโรคอ้วน ให้ นักศึกษาปริญญาโท จากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีละ 3 สัปดาห์ พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน
 
11.      เป็นคอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์สร้างเสริมสุขภาพ หนังสือพิมพ์บ้านเมือง พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน จึงส่งมอบให้สมาคมแพทย์สตรีฯ ดำเนินการต่อ เพื่อให้มีบทความจากหลายสาขาวิชาชีพ
 
12.      เสนอผลงานต่างประเทศ เรื่องการให้โภชนบำบัดเพื่อลดความเสี่ยงไตเรื้อรังในเบาหวาน ที่ International Diabetes Federation ประเทศออสเตรเลีย ธันวาคม 2556 และการเลิกบุหรี่ในโรคเรื้อรังใน 16 จังหวัดของประเทศไทย  ที่ World Conference on Tobacco or Health กรุงอาบูดาบี สาธารณรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ มีนาคม 2558
 
 
5.   หลักในการทำงาน
 
1.         ทำงานเป็นทีมโดยคัดเลือกทีมอย่างพิถีพิถัน เพราะทรัพยากรมนุษย์ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุด ที่มีการพัฒนาได้ต่อเนื่อง
 
2.         สื่อสารวิสัยทัศน์ พันธกิจ แจ้งเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และตัวชี้วัดที่สำคัญของผลงาน
 
3.         ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมพัฒนา ร่วมฉลองความยินดี และให้ความสำคัญบุคลากรชั้นผู้น้อย  ก่อนเสมอ ทำให้สามารถรวมแรง รวมใจ พัฒนางานต่อเนื่อง
 
4.         ไม่อลุ่มอล่วยกับการด้อยคุณภาพ ต้องศึกษาความเสี่ยงทุกขั้นตอนของการทำงาน และป้องกัน ล่วงหน้า
 
5.         จัดลำดับความสำคัญของงาน ให้ความสำคัญด้านครอบครัว บุตรธิดา ก่อนสังคมภายนอก
 
6.         ใช้เวลาให้เกินคุ้ม ไม่โต้แย้ง ไม่ทะเลาะ ให้เสียเวลา ตรงเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบรรยาย วิชาการ
 
7.         การทำงานมุ่งหมายผลลัพธ์ ไม่ต้องการแข่งกับผู้ใดยกเว้นแข่งกับตนเอง ทำวันนี้ให้ดีที่สุด วางแผนว่าพรุ่งนี้จะทำให้ดีขึ้นได้      อย่างไร
 
8.         ไม่ท้อแท้ ไม้ท้อถอย สิ่งที่ไม่ถนัดจะไม่ทำ จะเชิญผู้เชี่ยวชาญ แต่ละด้านมาช่วยเหลือ และ      ได้เรียนรู้ไปด้วย
 
 
6.         เกียรติประวัติ / รางวัลที่ได้รับ
 
1.         ทีมเวชปฏิบัติที่ดีด้านการดูแลโรคเบาหวาน พ.ศ. 2553 – ปัจจุบัน
 
2.         โล่ประทานจากพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ ในฐานะผู้สนับสนุนการเลิกบุหรี่ของกรมควบคุม                 โรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2555