แพทย์สตรีดีเด่น2558 สาขาการบริการ พญ.ดวงรัตน์ เชี่ยวชาญวิทย์ แพทย์สตรีดีเด่น2558 สาขาการบริการ พญ.ดวงรัตน์ เชี่ยวชาญวิทย์
7294Visitors | [0000-00-00] 

แพทย์สตรีดีเด่น สาขาการบริการ

พญ.ดวงรัตน์ เชี่ยวชาญวิทย์

1. ประวัติส่วนตัวและครอบครัว
ชื่อ        นางดวงรัตน์  เชี่ยวชาญวิทย์  อายุ 51  ปี
ตำแหน่ง / หน้าที่  ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลบางกระทุ่ม อำเภอ บางกระทุ่ม   จังหวัด พิษณุโลก
2.  วุฒิการศึกษาและสถาบันที่สำเร็จการศึกษา
 
2.1  แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
2.2  อนุัติบัตรเวชศาสตร์ป้องกันแขนงสาธารณสุขศาสตร์ แพทยสภา
 
2.3  อนุมัติบัตรเวชศาสตร์ครอบครัว แพทยสภา
 
3.  ประวัติการทำงาน
 
o พ.ศ. 2531 - ปัจจุบัน รับราชการ รพ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก
 
o เป็นอาจารย์พิเศษของภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชนครอบครัวและอาชีวอนามัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
 
o เป็นวิทยากรให้กับองค์กรทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข ในด้านงานการแพทย์ แผนไทย
 
4.   ผลงานของโรงพยาบาลที่ได้รับการยอมรับ/ได้รางวัล (5 ปีย้อนหลัง)
 
พ.ศ. 2553    รางวัลผลงานดีเด่นในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมระดับเขตตรวจราชการกระทรวง สาธารณสุข ที่ 17
 
พ.ศ. 2554    เกียรติบัตรรับรอง โรงพยาบาลบางกระทุ่มปฏิบัติตามมาตรฐานโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ (Health promotion Hospital : HPH)
 
พ.ศ. 2554    ได้รับการรับรองมาตรฐานงานสุขศึกษา ระยะเวลารับรองถึง ปี 2557
 
พ.ศ. 2554    รางวัลผลงานBest  Practice เรื่อง ปรับมุมความคิด เปลี่ยนวิถีชีวิตแบบ Healthy กับคลินิก DPAC จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก
 
พ.ศ. 2555    ได้รับการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล จากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ สถานพยาบาล(สรพ.) ในปี พ.ศ. 2552 และ Re-accreditation พ.ศ. 2558
 
พ.ศ. 2555    รางวัลสายใยรักระดับทอง
 
พ.ศ. 2556    รางวัลองค์กรต้นแบบไร้พุง จากศูนย์อนามัยที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก
 
พ.ศ. 2557    รางวัลดีเด่นระดับ๕ดาว ผลการดำเนินงานสาธารณสุข
 
5. เกียรติประวัติ / รางวัลที่เคยได้รับ
 
พ.ศ. 2540    แพทย์ชนบทดีเด่น กองทุนนายแพทย์กนกศักดิ์ พูลเกษร
 
พ.ศ. 2542    ศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
พ.ศ. 2543    คนดีศรีสองแคว สาขาภูมิปัญญาไทย จากผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก
 
พ.ศ. 2544    บุคลากรทางวัฒนธรรมภาคเหนือ จากกระทรวงวัฒนธรรม
 
พ.ศ. 2551    บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขดีเด่น เขต ๒ จากสำนักงานตรวจราชการ   กระทรวงสาธารณสุข เขต 2
 
พ.ศ. 2555    รางวัลประกาศเกียรติคุณเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้ทรงคุณค่าปฏิบัติงาน ดูแลสุขภาพประชาชนในโรงพยาบาลชุมชนมานานเกินกว่า 25 ปี กระทรวงสาธารณสุข
 
พ.ศ. 2556    ข้าราชการพลเรือนดีเด่นประจำปี 2555 จากสำนักนายกรัฐมนตรี
 
พ.ศ. 2556     บุคคลต้นแบบด้านส่งเสริมสุขภาพ จากศูนย์อนามัยที่ 9 กระทรวงสาธารณสุข
 
6. ผลงานที่ภาคภูมิใจ
 
1. ใช้หลักการบริหารจัดการ พัฒนา รพ.ให้เกิดการผสมผสานการรักษา โดยใช้แพทย์แผนปัจจุบันร่วมกับ แพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น  พัฒนาคน  พัฒนางาน  พัฒนากระบวนการในโรงพยาบาล บางกระทุ่ม  และเครือข่ายสุขภาพโดย ใช้หลักการบริหารจัดการ  CUP Management  สนับสนุนทรัพยากร ต่าง ๆให้เข้าถึง รพสต.ทุกแห่ง  มีการติดตามสภาพคล่องทางการเงินของ รพสต. สนับสนุนด้านการเงิน และการบริหารจัดการเพื่อให้ รพสต.ทุกแห่ง ในขณะเดียวกันโรงพยาบาลมีการวิเคราะห์สถานการณ์ ทุกเดือนและมีนโยบายเพิ่มรายรับลดรายจ่าย จนทำให้สภาพคล่องของโรงพยาบาลไม่มีปัญหา สามารถนำเงินมาใช้ในการพัฒนาระบบบริการได้ในภาวการณ์ที่ถูกจำกัดด้านการเงิน เนื่องจากเป็นอำเภอ ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณน้อยที่สุดในจังหวัดพิษณุโลก
 
2.ด้านบุคลากรสาธารณสุขในอำเภอบางกระทุ่ม มีการนำปัญหาในพื้นที่มาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาระบบงานให้ตอบสนองต่อความคาดหวังของประชาชน และแก้ไขปัญหาของแต่ละพื้นที่ โดยมีการนำผลการทำ Data analysis เป็นข้อมูลสนับสนุนที่สำคัญ   บริหารจัดการแบบเครือข่ายบริการ สุขภาพในอำเภอ จัดทำแนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคต่างๆ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งอำเภอ มีระบบการส่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังกลับไปรับการดูแลรักษาที่ รพสต.ใกล้บ้าน     แต่ยังอยู่ในการดูแล ติดตามการรักษาและให้คำปรึกษาโดยแพทย์ประจำโซน และ Family care team รวมทั้งนิเทศติดตาม และทบทวนผลการปฏิบัติงานการรักษาพยาบาลของทีมสุขภาพของ รพสต.ตามแนวทางที่กำหนด ผลการดำเนินงานพบว่าทีมสุขภาพสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐาน สนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ จัดทำ Continuous Quality Improvement เพื่อพัฒนาระบบงานอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การวางระบบดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพเกิดความปลอดภัย ลดภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น กับผู้ป่วยทั้งด้านการรักษาพยาบาล และด้านสิ่งแวดล้อม  มีการติดตามและประเมินผลการ ดำเนินงาน ระดับโรงพยาบาลและระดับ คปสอ. ทุกเดือน ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาระบบการฝากครรภ์ จัดตั้งโรงเรียนพ่อแม่ สายด่วนนมแม่ ๒๔ ชั่วโมง สายด่วนปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต ๒๔ ชั่วโมง ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาในระบบงานดังกล่าว ทำให้ผู้รับบริการพึงพอใจ และลดอัตราการเกิดอุบัติการณ์ ความเสี่ยงด้านแม่และเด็กและลดอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ
 
3.เป็นประธานคณะกรรมการ Quality Realization Team (QRT) ระดับจังหวัด เพื่อพัฒนาระบบบริการ ของโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งสู่การรับรองคุณภาพ ในภาพรวมจังหวัดพิษณุโลกและเป็นคณะทำงาน จัดทำยุทธศาสตร์สาธารณสุขระดับจังหวัด เป็นประจำทุกปี
 
4. ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ของหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี(พอ.สว.) และออกเยี่ยมชุมชนในภาวการณ์เกิดพิบัติภัยต่าง ๆ