สรุปสารธรรมโดยย่อ ของ พญ.อมรา มลิลา “”สุขใจ เมื่อสูงวัย”” สรุปสารธรรมโดยย่อ ของ พญ.อมรา มลิลา “”สุขใจ เมื่อสูงวัย””
3593Visitors | [2016-08-05] 

สมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทย   ในพระบรมราชินูปถัมภ์
 
สรุปสารธรรมโดยย่อ ของ พญ.อมรา  มลิลา
 
“”สุขใจ  เมื่อสูงวัย””
 
วันเสาร์ที่ 15  สิงหาคม  2558
 

1.      เราเกิดในใต้ร่มพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นบุญประการสำคัญ ควรศึกษาให้รู้จักใจตน

2.      เราเกิดมาเป็นตัวเป็นคน เริ่มต้นที่ “มโน(วิญญาณ)” มีธาตุดิน (ของแข็ง) รวมกับ ธาตุน้ำ (ของเหลว) ดินผสมกับน้ำเป็นรูปที่มองเห็นได้ และ ส่วนที่มองด้วยตาไม่เห็นคือ  ลม และ ไฟ (ที่หมายถึง อากาศ และพลังงาน) แล้วมี ใจ เป็นนามที่ไม่สามรถมองเห็นเป็นรูปร่าง  จึงเป็นคนที่สมบูรณ์

3.      ตัวเราที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ มี กาย ๑ ใจ ๔ ที่จะต้องมีการเจริญเติบโต ที่ต่างกัน โดย การพัฒนากายต้องเคลื่อนไหว การพัฒนาใจต้องหยุด

4.      การดูใจตนเอง ต้องเริ่มด้วยการยึดสติ (แปลว่าระลึกได้)  มีสติ ด้วยการดึงใจมาหา ที่ตั้งของใจ โดยการเริ่มจากรูป เช่น ดูลมหายใจ(ลมปราณ) คูการเคลื่อนไหวของมือ(หลวงพ่อเทียน) เดินจงกรม กำหนดการย่างก้าว (หลวงพ่อจรัล) ฯลฯ เมื่อจูงใจให้มาหยุดนิ่งได้แล้ว การหยุด การนิ่ง อาจทำให้เห็นอารมณ์ ที่เปลือกนอกซึ่งเป็นส่วนที่ใจยึดเหนี่ยวไว้ เข้าถึงอารมณ์ก็เรียกได้ว่าเกือบถึงใจแล้ว ให้ปรับความรู้สีกว่า  เห็นก็สักแต่ว่าเห็น อารมณ์ก้จะหายไป จะเห็นได้ว่าใจนั้น โปร่ง เมื่อใส สว่าง ทำให้สามารถเห็นได้โดยรอบ เป็นสัมปชัญญะ สติ คือระลึกรู้ สัมปชัญญะโดยรอบ หรือกระจ่าง

5.      เจริญสติไปเรื่อยๆ ก็จะได้สติ ได้ในทุกขณะจิต ทำให้รวมใจได้ง่ายขึ้น และสามารถรวมได้เร็วแม้นใน ในภาวะฉุกเฉิน

6.      จิต หรือ ใจ มีคลื่น มีผู้สามารถรู้ความคิดของผู้อื่น ได้ถ้ามีความแก่กล้าในการเจริญสติ อุปมาอุปมัยดั่งการได้ยินเสียงวิทยุ หรือ ได้ยินและได้เห็น โทรทัศน์ ถ้าปรับคลื่นให้ตรงกัน

7.      การฝึก จิตภาวนา หรือ  เจริญสติ เป็นการสั่งสมบุญบารมี ถือเป็นอริยทรัพย์ เพื่อเป็น บุญบารมีที่เรียกว่าสวรรค์สมบัติ

8.      ผู้สูงวัยหลายคนมีครอบครัว คนที่เป็นแม่คนมักจะห่วงแต่ลูกตน 

8.1.    เฝ้าซักถาม ตามสั่งสอน   แต่เมื่อลูกโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ก็ต้องมีความคิดของตน และมีการงานของตน และมักจะไม่ค่อยห่วงพ่อแม่ เพราะคิดว่าท่านมีความสามารถ ตั้งแต่เกิดมาพ่อ และแม่ก็มีแต่ให้ทุกอย่างแก่ตน   

8.2.    ถ้ายังอ่านใจกันและกันไม่ออก ก็ต้องพูดจากันให้เข้าใจกันดีๆ อย่ามัวแต่จะเดาใจกัน มีวแต่คาดคิด และกังวล

8.3.    ความห่วงความกังวลมากๆ จะเป็นทุกข์ของผู้เป็นแม่ไปเสีย ผู้เป็นพ่อแม่จึงต้องต้องฝึกการปล่อยวาง  เชื่อมั่นในความประพฤติของลูก เพราะได้สอนถูก สอนผิดให้หมดแล้ว ลูกต้องเข้าใจ และใส่ใจ ต้องให้โอกาสสูกได้ตัดสินใจเองบ้าง

9.      ผู้สูงวัยที่ไม่ห่วงกังวลจะมีจิตไม่ขุ่นมัว สติก็ไม่เตลิดเปิดเปิงไป ใจก็สงบ เป็นสุข ได้

9.1.    ถ้ายังไม่นิพพาน  เรายังมีชาตินี้และชาติหน้า การเตรียมตัวตาย หรือไปสู่ภพต่อไปต้องฝึกไว้ให้อยู่แต่ในปัจจุบัน

9.2.    ทุกคืนก่อนนอน ให้ย่อมคิดไว้ว่า ตนพร้อมที่จะตายได้รึยัง ยังมีภาระกิจอะไรที่ทำค้างไว้ ที่ยังไม่ได้สั่งเสีย

9.3.    เตรียมตัวตายได้ทุกๆคืน

10. สำหรับคนที่ต้องฝึกอบรมผู้อื่นก็ต้องรู้ว่าผู้ใดฝึกได้ ผู้ใดฝึกไม่ได้ แม้พระพุทธเจ้าก็ฝึกไม่ได้ทุกคน

อย่าเอามาตรฐานของเราไปวัดคนอื่นๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะจิตความหยาบความละเอียดของจิตใจนั้นแตกต่างกัน คลื่นของจิตยังไมตรงกันนัก ทุกคนต้องทดลอง ทำใจให้ว่างๆ หรือ ทำสมาธิ คือการดูใจตนเอง แล้วจะเห็นว่าไม่ง่ายนัก แต่ถ้าฝึกบ่อยๆ จะปล่อยวางได้เมื่อว่างๆ จิตก็ปรากฏได้ชัด ในที่สุด

 

พญ.คุณสวรรยา เดชอุดม สรุปโดยย่อ