Clinic ตรวจเบื้องต้น ..สมาคมแพทย์สตรีฯ

มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูก
3773Visitors | [2020-01-16] 

มะเร็งปากมดลูกและ Human papilloma virus (HPV)

ความสำคัญ

-   Human papilloma virus หรือ HPV เป็นกลุ่มเชื้อไวรัสที่พบบ่อยทั่วโลก

-   Human papilloma virus (HPV)มีทั้งสิ้นกว่า 100 ชนิด แต่มีอย่างน้อย 13 ชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง

-   Human papilloma virus (HPV) ส่วนใหญ่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์และคนส่วนใหญ่จะติดเชื้อ HPV นี้หลังจากเริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้ไม่นาน

-   มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ Human papilloma virus (HPV)บางชนิดทางเพศสัมพันธ์

-   Human papilloma virus (HPV) 2 ชนิดคือชนิดที่16และ18 เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกได้ร้อยละ 70

-    มะเร็งปากมดลูกพบบ่อยเป็นอันดับสองในผู้หญิงรองจากมะเร็งเต้านม

-   Human papilloma virus (HPV) ยังพบว่ามีความเกี่ยวโยงกับมะเร็ง ของอวัยวะเพศชาย หญิง มะเร็งช่องคลอดและ มะเร็งทวารหนัก    

-    วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV016 และ 18   ได้รับการยอมรับและนำไปใช้แล้วในหลายประเทศเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูก

Human papilloma virus (HPV) และการก่อโรค มะเร็งปากมดลูก

Human papilloma virus (HPV) เป็นการติดเชื้อที่พบบ่อยในระบบสืบพันธุ์ ชายและหญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์หรือช่วงที่มีเพศสัมพันธ์จะติดเชื้อนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งและมีหลายคนที่มีการติดเชื้อซ้ำๆ ส่วนใหญ่จะพบว่ามีการติดเชื้อนี้ในชายและหญิงหลังจากเริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้ไม่นาน เชื้อ HPV จะติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการการสัมผัสของผิวหนังของอวัยวะสืบพันธุ์ (skin to skin)

เชื้อ HPV มีกว่า 100 ชนิด  ส่วนใหญ่จะไม่ก่อปัญหา เมื่อติดเชื้อแล้วจะหายได้เองกว่าร้อยละ 90 ภายใน 2 ปี มีเพียงส่วนน้อยที่ติดเชื้อ HPV บางชนิดที่จะไม่หายและจะก้าวสู่การเป็นมะเร็ง ซึ่งเป็นที่ทราบกันแล้วว่ามะเร็งปากมดลูกเกือบทุกรายเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ HPV

ในผู้หญิงปกติที่มีการติดเชื้อ HPV จะใช้เวลาประมาณ 15 ถึง 20ปี ที่จะเกิดมะเร็งแต่ในคนที่ภูมิคุ้มกันต่ำจะใช้เวลา5ถึง10ปี

ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่ช่วยทำให้เชื้อ HPV   คงอยู่ในร่างกาย ไม่หายไปและกลายเป็นมะเร็งได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์อายุน้อย การมีคู่นอนหลายคน สูบบุหรี่ ภูมิต้านทานต่ำ

อาการและการแสดงอาการ

เมื่อติดเชื้อ HPVส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอะไร และการติดเชื้อจะหายได้เองกว่าร้อยละ 90  แต่มีการติดเชื้อ HPVบางชนิด เช่นชนิดที่ 16 และ18 ที่เชื้อจะอยู่ในร่างกายและทำให้เกิดแผลที่จะกลายเป็นมะเร็งได้  ถ้าไม่ได้รับการรักษาแผลนี้จะกลายเป็นมะเร็งในที่สุด แต่การเปลี่ยนแปลงนี้ใช้เวลาหลายปี

อาการผิดปกติที่พบเมื่อเป็นมะเร็งปากมดลูกได้แก่

เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการร่วมเพศ

ตกขาวมีสีและมีกลิ่นผิดปกติ

ปวดหลัง ปวดขา อ่อนเพลียน้ำหนักลด

การป้องกันและรักษามะเร็งปากมดลูก

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้หลายวิธีในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกประกอบด้วย

1.การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV 16  18  ในเด็กหญิงอายุ 9 ปี- 13ปี ก่อนที่จะ

เริ่มมีเพศสัมพันธ์

2.ประชาชนจะต้องรู้จักและใช้วิธีการร่วมเพศที่ปลอดภัย มีการใช้ ถุงยางอนามัย ไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ไม่สำส่อนหรือมีคู่นอนหลายคน

3.ประชาชนไม่สูบบุหรี่ โดยเฉพาอย่างยิ่งวัยรุ่น  เนื่องจากบุหรี่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก

4.การขลิบปลายอวัยวะเพศในผู้ชาย

5 ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ตั้งแต่อายุ 30 ปีควรจะรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทั้งวิธี Pap smear  และ  VIA

6.หากพบความผิดปกติของปากมดลูกเช่นพบแผล พบเซลล์ผิดปกติจะต้องได้รับการรักษา

7. เมื่อพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกจะต้องรับการรักษาเช่นการผ่าตัด การฉายแสง

แปลจาก WHO Fact sheet N 380 Human papilloma virus (HPV) and cervical cancer

สมาคมแพทย์สตรีฯ กับการป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

สมาคมแพทย์สตรีฯ เปิดบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear และการตรวจหาความผิดปรกติของเต้านมด้วยวิธีอย่างง่าย ทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่1และสัปดาห์ที่3    ของเดือน ฟรี ที่อาคารแพทย์โกศลชั้น2 สมาคมแพทย์สตรี ถนนสุขุมวิท ตรงข้ามวัดธาตุทอง กรุงเทพ

การฉีดวัคซีน     Human papilloma virus (HPV) ป้องกันมะเร็งปากมดลูก

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก จะต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็ม  เดือนละ 1 เข็ม ปัจจุบันนี้มีบริการในโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่ง ราคาเข็มละประมาณ 1000-2000 บาท สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ร้อยละ 70  ผู้ที่เหมาะสมต่อการฉีดวัคซีนคือผู้หญิงที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดในเด็กสาวอายุ 9ปีขึ้นไป ซึ่งยังไม่มีเพศสัมพันธ์  ปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าวัคซีนจะป้องกันโรคได้นานเป็นเวลาเท่าใด จะต้องฉีดซ้ำอีกเมื่อใด