แพทย์สตรีปฏิบัติการดีเด่น ด้านสู้โควิด 2564 แพทย์สตรีปฏิบัติการดีเด่น ด้านสู้โควิด 2564
5315Visitors | [2021-11-13] 

แพทย์สตรีปฏิบัติการดีเด่น ด้านสู้โควิด 2564

๑. พญ. จินตนา ศรีสมปอง 

 

 

อายุรแพทย์ สาขาโรคติดเชื้อ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด

"พลังใจนำทีมร่วมรับมือผู้ป่วยโควิด สุราษฎร์ธานี" ผลงานดีเด่น ระดับเขตสุขภาพที่ ๑๑

     จากการเตรียมความพร้อมในด้านบุคลากร สถานที่ อุปกรณ์ป้องกันและเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ใน การดูแลผู้ป่วยวิกฤติ COVID-19 รายแรกของ จ.สุราษฎร์ธานี มีภาวะไตวายเฉียบพลันและระบบทางเดิน หายใจล้มเหลว เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ จนผู้ป่วยอาการดีขึ้น สามารถกลับบ้านได้


๒. พญ. ณัฐกานต์ ชื่นชม    

                         

 

อายุรแพทย์ สาขาโรคติดเชื้อ นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลแม่สอด

ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด

"อายุรแพทย์โรคติดเชื้อชายแดนไทย-เมียนมาต้องเป็นหมอ ระบาดวิทยาด้วย"

     โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำเกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน หัด พิษสุนัขบ้า โรคไข้กาฬหลังแอ่น โรคอหิวาต์ตกโรค โรคแอนแทรกซ์ โรคที่นำโดยยุง เช่น มาลาเรีย ชิคุนกุนย่า ไข้เลือดออก โรคฉี่หนู และล่าสุดโควิด-๑๙ ที่สถานการณ์หนักหนามากๆ เราต้องเตรียมพร้อม รับมือเสมอ ผลงานความสำเร็จในการควบคุมโรคขอยกให้กับทีมงานสาธารณสุขชายแดนทุกคนที่อุตสาหะ เสียสละ และกล้าหาญเพื่อให้ประชาชนปลอดภัยค่ะ


๓. พญ. ดลจรัส ทิพญ์มโนสิงห์  

                         

 

กุมารแพทย์ สาขาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก ผู้อำนวยการ ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ กรุงเทพมหานคร

ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด

"หัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุขดำเนินมาตรการควบคุมป้องกัน การระบาดทั้งเชิงรับและเชิงรุก"

  หัวหน้าทีม SRRT ของ ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร เป็นศูนย์บริการ สาธารณสุขเพียงแห่งเดียวของพื้นที่เขตดอนเมือง มีประชากรจำนวนมาก ตั้งแต่เริ่มต้นการระบาด ของโควิด-๑๙ จัดเตรียมมาตรการทั้งภายในและภายนอกศูนย์เพื่อรองรับการระบาดของโรคโควิด-๑๙ รวมทั้งการให้ความรู้ ออกบริการเชิงรุกแก่โรงเรียนและสถานประกอบการในพื้นที่


๔. พญ. นุชศรา อามีณทรานนท์

                         

 

ตจแพทย์

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด

"Case manager ดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 EOC จ.นราธิวาส"

  วางรูปแบบ Buddy-Budder hospital Model เพื่อจับคู่โรงพยาบาลที่พื้นที่ใกล้กัน ในการรองรับผู้ป่วยโรคโควิด-๑๙ ที่ไม่มีอาการ/มีอาการเล็กน้อย admit ในโรงพยาบาลชุมชนช่วงที่ไม่มี โรงพยาบาลสนาม และต่อมาเมื่อมีโรงพยาบาลสนาม แผนนี้ได้ปรับใช้ในการรองรับผู้ป่วยที่ไม่เข้าเกณฑ์ โรงพยาบาลสนาม หรือระดับ Moderate ข้อดี คือ ลดการส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลทั่วไป ทำให้ capacity เตียง สามารถรองรับกลุ่มอาการรุนแรงทั้งจากผู้ป่วยทั่วไป และผู้ป่วยโรคโควิด-๑๙ ได้มากขึ้น รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เครื่องมือและสถานที่ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-๑๙ ของ โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลทั่วไป


๕. พญ. ปริยสุทธิ์ อินทสุวรรณ

                        

 

จิตแพทย์ กลุ่มงานสุขภาพจิตและยาเสพติด นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด

"จิตแพทย์ผู้ดูแลกายและใจผู้ป่วยและบุคลากรในภาวะวิกฤติจาก COVID-19 พร้อมนำเทคโนโลยีนวัตกรรมมาประยุกต์ในงานรักษา ส่งเสริมและป้องกัน"

 ►ด้านบริหารจัดการในภาวะวิกฤติ ออกแบบการทำงานและการให้บริการสุขภาพจิตและ ยาเสพติดทางไกล (telemedicine) ร่วมกับครอบครัวและชุมชน จัดบริการงานสุขภาพจิตในหอผู้ป่วย cohort ward และโรงพยาบาลสนาม จัดบริการและร่วมมือกับชุมชนที่มีผู้ติดเชื้อ เพื่อสร้างความเข้าใจ เพิ่มความร่วมมือและลดตราบาปจากการเจ็บป่วย จัดบริการดูแลจิตใจบุคลากร เพื่อลดความเครียดและ ภาวะหมดไฟ (burn out)

  ►ด้านพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม นำนวัตกรรมการพิมพ์ ๓ มิติมาใช้ในวิกฤติการระบาด COVID-19 เพื่อลดต้นทุนการซื้อ Personal Protective Equipment และพึ่งพาตนเอง ได้แก่ นวัตกรรมการพิมพ์ กระจังหน้า (Face Shield) แว่นตากันน้ำ (Goggle) หน้ากากกันน้ำ (water proved facial mask) VDO Larygoscope จากเครื่องพิมพ์ ๓ มิต


๖. พญ. พรวิมล ลี้ทอง

                        

 

อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ กลุ่มงานอายุรกรรม นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด

"“ผู้บัญชาการเหตุการณ์ (Incident Commander) ในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จังหวัดสมุทรปราการ"

 อายุรแพทย์โรคติดเชื้อเพียงคนเดียวในจังหวัด ผู้เป็นแกนนำหลักในการเตรียมความพร้อมด้าน ต่างๆ เพื่อรับมือต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) มีความมุ่งมั่นและตั้งใจอย่างมากที่จะทำให้ทุกคนปลอดภัยและผ่านพ้นวิกฤตของโรคระบาดนี้ไปให้ได้ โดยเร็วที่สุด ด้วยคุณลักษณะเฉพาะตัวดังกล่าวทำให้เป็นศูนย์รวมความเชื่อมั่นของบุคลากรในโรงพยาบาล รวมทั้งผู้ป่วยที่เคยมารับบริการได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่จากบุคลากรทุกระดับในการที่จะร่วมกัน ทำภารกิจนี้ให้สำเร็จลุล่วง เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีความปลอดภัยมากที่สุด

 ในการจัดเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ นั้น ได้ใช้ความรู้และใช้ประสบการณ์มาวิเคราะห์และ วางแผนทั้งในด้านของอาคาร/สถานที่ ด้านอัตรากำลังของบุคลากรแต่ละประเภท ด้านทรัพยากรต่างๆ ทั้งทาง Clinic และ Non Clinic อีกทั้งได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นและได้กำหนดแผนรองรับ เหตุการณ์ต่างๆ ไว้ตามระดับความรุนแรง มีการปรับปรุง/พัฒนาและเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ให้ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน


๗. พญ. มรกต ภัทรพงศ์สินธุ์

                        

 

อายุรแพทย์ กลุ่มงานอายุรกรรม นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด

"หัวหน้าทีมรักษาผู้ป่วยโควิด(Miss Corona) โรงพยาบาลชัยภูมิ"

 อายุรแพทย์ผู้จัดระบบการดูแลและวางแผนการรักษาผู้ป่วยโควิดในจังหวัดชัยภูมิ ได้จัดแบ่ง อายุรแพทย์ออกเป็น ๒ ทีม สำหรับดูแลผู้ป่วยโควิด และ ผู้ป่วยที่ไม่ใช่โควิด เป็นที่ปรึกษาหลักสำหรับ อายุรแพทย์และแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลชัยภูมิรับดูแลผู้ป่วยโควิดที่มีอาการรุนแรงและ ไม่รุนแรง รักษาผู้ป่วยโควิดในจังหวัดชัยภูมิ เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๖๔ จำนวนสูงสุดที่รับเข้าไว้ ในโรงพยาบาล ๙๘ ราย


๘.พญ. ลลิดา วีระวิทยานันต์

                        

 

จักษุแพทย์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ กรุงเทพมหานคร

ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด

"ผู้นำขับเคลื่อนโครงการบางโคล่โมเดลบันได ๔ ขั้น พิชิตโควิด ร่วมกัน ระหว่างศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ สำนักงานเขตบางคอแหลม กับผู้นำ ๖ ชุมชน"

 หัวหน้าทีม การสอบสวนและควบคุมโรคใน setting ที่มีการระบาดแคมป์คนงานก่อสร้าง, โรงงาน, สถานประกอบการ , ตลาดและชุมชน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดมาตรการ Bubble and seal ตรวจค้นหาผู้ป่วยในชุมชน ในกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มคนที่เปราะบางที่ไม่มีโอกาสเข้ารับการตรวจ เช่น ผู้ป่วยติดบ้าน , ผู้ป่วยพิการ , ผู้ป่วยทารกและเด็กเล็ก ควบคุมดูแลการกักตัวผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงสูง (Home Quarantine) ดูแลผู้ป่วยโควิด-๑๙ ที่รักษาตัวเองอยู่ที่บ้าน (Home Isolation) เป็นเวลา ๑๔ วันเพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อ ซึ่งมีปริมาณงานราว ๓,๔๐๐ ราย ในพื้นที่รับผิดชอบ การฉีดวัคซีนให้กลุ่มจำเพาะเจาะจง เช่น กลุ่มผู้ป่วยสูงอายุมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป, กลุ่มที่มีโรค ๗ กลุ่ม เสี่ยง, กลุ่มคนท้องที่ติดค้างอยู่ตามชุมชน และไม่สามารถเข้าถึงบริการวัคซีนโดยทั่วไปได้ , กลุ่มผู้พิการ , กลุ่มผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง


๙. พญ. สราพร มัทยาท

                        

 

อายุรแพทย์โรคไต รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด

"หัวหน้าทีมปฏิบัติ (Operation Section Chief)ในคณะกรรมการศูนย์ ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา"

 รับผิดชอบดูแลบริหารจัดการเตียงภายในโรงพยาบาล ประสานระดับจังหวัด เขต และผู้โดยสาร มาจากสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นหัวหน้าทีมของคณะกรรมการ EOC ระดับจังหวัดของสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัด เป็นหัวหน้าทีมรับผิดชอบการดูแลโรงพยาบาลสนาม ๒ แห่งของจังหวัดฉะเชิงเทรา และจัดระบบบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาภาคสนามมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์


๑๐. รศ.พญ.อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์

                        

 

กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด

"อาจารย์แพทย์ผู้ดูแลควบคุมป้องกัน เผยแพร่ความรู้โรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙"

 ร่วมกำหนดมาตรการ แนวทางป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ รวมทั้งโรงพยาบาลสนาม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำหนดมาตรการและคำแนะนำ สำหรับนักศึกษา คณาจารย์และบุคลากร ในช่วงที่มีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) รวมทั้งแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน ในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) เป็นคณะทำงานด้านการประกันคุณภาพวัคซีนและเฝ้าระวัง ติดตามอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีน AEFI ของจังหวัดปทุมธานี


๑๑. พญ. อภิสมัย ศรีรังสรรค์

                        

 

จิตแพทย์ ผู้อำนวยการ ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร

ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด

"ผู้ช่วยโฆษก ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙ (ศบค.)"

 การทำงานของ ศบค.เป็นการบริหารสถานการณ์ท่ามกลางความขัดแย้ง การเผชิญหน้ากับ โรคระบาดที่ไม่เคยมีมาก่อน องค์ความรู้ทั้งด้านการแพทย์ การสาธารณสุขและการบริหารจัดการ สถานการณ์ต่างๆ จำเป็นต้องมีการปรับ เกิดการเรียนรู้ใหม่ ซึ่งองค์ความรู้เดิมบางอย่างอาจไม่สามารถ นำมาใช้ได้ การบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดให้พอดีกับการผ่อนคลายมาตรการที่เหมาะสมเพื่อ ให้ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตได้ ภาคเศรษฐกิจสังคมยังคงขับเคลื่อนไปได้ เป็นเรื่องยากลำบาก การตัดสินใจซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบหลายฝ่ายจึงนำไปสู่ความขัดแย้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การสื่อสารจึงเป็น สิ่งจำเป็นที่จะช่วยประคับประคองให้ก้าวไปด้วยกันได้

 โฆษกต้องเป็น anger container การฟังเป็นสิ่งสำคัญมาก การจัดการความขัดแย้งเป็นคุณสมบัติ ที่สำคัญ และต้องตรวจสอบตัวเองเมื่อหมดหน้าที่ในแต่ละวัน


๑๒. รศ. พญ โอสรี อัครบวร

                        

 

ศัลยแพทย์ หน่วยศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด

"แพทย์ดีเด่นบุษราคัมล้อมเพชร"

 แพทย์ดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 โรงพยาบาลบุษราคัม ผู้ดูแลผู้ป่วยด้วยจิต กาย ใจ ทั้งหมดที่มีเรื่องราวดีๆ ของผู้ที่มารวมกัน หมุนเวียนกัน ความเมตตาและความเพียรของเราจะทำให้ เมืองที่เหินห่างกลับมาใกล้ชิดกันอีกครั้ง การเชื่อมโยงของเราอาจจะไม่สมบูรณ์แบบ แต่ก็เป็น ความพยายามระดับมนุษย์ ที่ยังเมตตากันเสมอ เมตตามากมายไม่มีประมาณ ภารกิจชีวิตยังดำเนินไป การทำงานแบบลืมความเหน็ดเหนื่อยกันทุกวัน ด้วยการแบ่งปันและปรีดา


ดาวโหลดไฟล์ข้อมูลได้ที่ Download