|
382966Visitors | [2022-01-26]
สำหรับคนที่ตรวจโควิดด้วยตัวเองโดยใช้ชุดตรวจ ATK แล้วผลออกมาว่าติดเชื้อ คงทั้งตกใจและกังวลไปต่าง ๆ นานา ว่าเราติดโควิดแล้วหรือยัง แล้วจะต้องติดต่อขอรับการรักษาที่ไหน รักษาฟรีไหม จะได้ไปโรงพยาบาล Hospitel หรือ Home Isolation วันนี้เราเลยรวบรวมข้อมูลมาให้ว่าถ้าตรวจ ATK แล้วผลเป็นบวก ควรทำยังไงต่อ
ตรวจ ATK แล้วผลเป็นบวก ทำไงดี
หากตรวจ ATK แล้วขึ้น 2 ขีด ผลเป็นบวก ให้ปฏิบัติตัวตามนี้ทันที
1. กักตัว งดออกจากบ้านโดยเด็ดขาด
2. ในกรณีอยู่ร่วมกับผู้อื่น ให้สวมหน้ากากตลอดเวลา
3. แจ้งให้คนใกล้ชิดทราบ
4. แยกตัวเองออกจากบุคคลในบ้าน แยกห้องน้ำ แยกของใช้ส่วนตัวทุกอย่าง รวมถึงแยกถุงขยะ
5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยง (กรณีเลี้ยงสัตว์)
6. หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อย ๆ
7. สังเกตอาการตัวเอง และรีบเข้าสู่กระบวนการรักษาทันที
อย่างไรก็ตาม ผลตรวจ ATK อาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ดังที่เราเคยได้ยินข่าวว่าคนตรวจ ATK เป็นบวก แต่เมื่อไปตรวจ RT-PCR กลับเป็นผลลบ ดังนั้นอย่าเพิ่งตกใจว่าตัวเองติดเชื้อแล้วแน่ ๆ ถ้าเป็นไปได้ควรไปตรวจ RT-PCR ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลตามสิทธิรักษา เพื่อยืนยันอีกครั้ง ซึ่งหลายแห่งให้บริการฟรี และรับเข้ารักษาที่ Hospitel หรือโรงพยาบาลด้วย
สำหรับผู้ใช้สิทธิบัตรทอง
ติดต่อ สปสช. ผ่าน 3 ช่องทางคือ
1. โทร. สายด่วน สปสช. 1330 กด 14
หรือ 2.กรอกข้อมูล ที่นี่
หรือ 3. เข้าทางไลน์ สปสช.โดยเพิ่มเพื่อน @nhso หรือ คลิก• เลือกเมนูบริการเกี่ยวกับโควิด 19
• เลือกลงทะเบียนเข้าสู่ระบบการดูแลที่บ้าน (Home Isolation) โดยจะต้องอยู่ในเกณฑ์พิจารณาของกรมควบคุมโรค ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ Home Isolation ฉบับปรับปรุงวันที่ 4 มกราคม 2565 ไว้ดังนี้ (เกณฑ์อาจปรับได้ตามดุลยพินิจของแพทย์ โดยพิจารณาเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยและด้านการควบคุมโรคประกอบกัน)
- เป็นผู้ติดเชื้อที่สบายดี หรือไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย
- มีอายุน้อยกว่า 75 ปี
- มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อาจมีโรคร่วมที่สามารถรักษาและควบคุมได้ตามดุลยพินิจของแพทย์
- ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง
โดยเจ้าหน้าที่จาก สปสช. จะประสานและจับคู่กับสถานพยาบาล เพื่อให้คำแนะนำและให้การรักษาตามระบบการดูแลผู้ติดเชื้อโควิดที่บ้านต่อไป
กรณีป่วยที่กรุงเทพฯ แต่ต้องการกลับไปรักษาที่ต่างจังหวัด ให้โทร. 1330 กด 15 โดยแจ้งเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ผลตรวจ สถานที่ตรวจ วันที่ตรวจ แจ้งอาการตามจริง เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถดูแลได้อย่างเหมาะสมสำหรับผู้ใช้สิทธิประกันสังคม มาตรา 33 และ 39
-
โทร. ไปที่สายด่วนสำนักงานประกันสังคม 1506 กด 6 และกด 7
-
หรือโทร. ไปยังโรงพยาบาลตามสิทธิของตัวเอง เพื่อรับการดูแลที่บ้านหรือที่ชุมชน
1. เมื่อมีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ระยะเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง
2. หายใจเร็วกว่า 25 ครั้ง ต่อนาที ในผู้ใหญ่
3. Oxygen Saturation ต่ำกว่า 94%
4. โรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ตามดุลยพินิจของแพทย์
5. สำหรับในเด็ก หากมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมหรือรับประทานอาหารน้อยลง
ช่องทางอื่น ๆ
* Call Center ของจังหวัด หรือชุมชน
* กรมควบคุมโรค สายด่วน 1422
* กรมการแพทย์ สายด่วน 1668
* เพจ เส้นด้าย หรือ โทร. 08-1591-9714, 08-0660-9998
* เพจ เราต้องรอด หรือ โทร. 0-2027-8808
* เพจ Preeyada Sitthachai (คุณแก้มบุ๋ม ปรียาดา)
* เพจ องค์กรทำดี หรือ โทร. 08-6431-5579
* เพจมูลนิธิกระจกเงา หรือ โทร. 06-1909-1840
สำหรับคนที่ตรวจ ATK แล้วขึ้น 2 ขีด ผลเป็นบวก แต่พอไปตรวจด้วยวิธี RT-PCR ซ้ำ แล้วไม่พบว่าติดเชื้อ อาจเป็นเพราะผลบวกปลอมจาก ATK ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน ดังนี้
* มีการปนเปื้อนเชื้อโรคจากพื้นที่ที่ทำการทดสอบ หรือจากมือที่ปนเปื้อนเชื้อของเราเอง
* การติดเชื้อไวรัสจุลชีพอื่น ๆ
* ตรวจ ATK ไม่ถูกวิธี เช่น อ่านผลเกินเวลาที่กำหนด
* สภาพสิ่งส่งตรวจไม่เหมาะสม
* ชุดตรวจไม่ได้มาตรฐาน โดยสามารถเช็กรายชื่อชุดตรวจ ATK ที่ผ่านการรับรองจาก อย. ได้ ที่นี่
หากผลตรวจ ATK เป็นลบ ทั้งที่ตัวเองรู้สึกไม่สบาย เช่น เจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก เป็นหวัด มีไข้ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส เหงื่อออกตอนกลางคืน ปวดกล้ามเนื้อ ฯลฯ หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง เพราะสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิดแม้จะไม่มีอาการป่วย อาจเกิดได้จากกรณี เช่น
* เพิ่งติดเชื้อระยะแรก ๆ ร่างกายจึงมีปริมาณเชื้อต่ำ
* อาจตรวจ ATK ผิดวิธี แหย่จมูกไม่ถูกต้อง
* ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น ไม่อ่านผลในช่วงเวลาที่กำหนด ปริมาณตัวอย่างที่หยดไม่เป็นไปตามที่กำหนด
ควรทำอย่างไร
ในกรณีที่เป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ แต่ตรวจ ATK แล้วไม่พบเชื้อ กรณีนี้ก็ควรระมัดระวังตัวและปฏิบัติตามนี้
* แยกกักตัว หากอยู่ร่วมกับคนอื่นควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา แยกห้องน้ำและของใช้
* ตรวจ ATK ซ้ำในอีก 3-5 วันถัดมา
* หากมีอาการรุนแรงควรไปตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ซ้ำที่โรงพยาบาลอีกครั้ง
ณ ปัจจุบันหากติดเชื้อโควิดจะเข้ารับการรักษาฟรีตามสิทธิที่ตัวเองมีนะคะ ดังนั้นหากตรวจ ATK แล้วผลเป็นบวก แนะนำให้ตรวจ RT-PCR อีกครั้ง ถ้าผลปรากฏว่าติดเชื้อจริง ๆ จะได้รีบติดต่อเข้ารับการรักษาโดยด่วน
บทความที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโควิด 19
- เช็กลิสต์ยาที่ควรมีช่วงโควิด ติดบ้านไว้ใช้ดูแลตัวเอง-รักษาอาการเบื้องต้น
- โควิดหายเองได้ไหม ดูแลตัวเองยังไงเมื่อติดเชื้อ
- วิธีกินฟ้าทะลายโจรรักษาโควิด 19 ควรใช้อย่างไร ต้องกินวันละเท่าไร
- วิธีกินฟ้าทะลายโจรเสริมภูมิคุ้มกันในช่วงโควิด 19 คนป่วย-ไม่ป่วย กินได้แค่ไหน
- ฟ้าทะลายโจร กระชายขาว กินคู่กันได้ไหม ไขข้อสงสัยเรื่องสมุนไพรรักษาโควิด
- 12 ยาสมุนไพรดูแลตัวเองในเบื้องต้น เมื่อติดโควิดแล้วต้องรักษาตัวที่บ้าน Home isolation
- อาหารสำหรับผู้ป่วยโควิด กินอะไรช่วยบรรเทาและไม่ซ้ำเติมอาการให้ยิ่งหนัก
- อาการโควิดลงปอดเป็นยังไง พร้อมวิธีเช็กเบื้องต้น สัญญาณไหนต้องรีบรักษา
- ยาเขียว คืออะไร สรรพคุณช่วยรักษาโควิดได้จริงไหม
- 12 สูตรทำน้ำยาฆ่าเชื้อโควิด 19 ไว้ทำความสะอาดบ้านกำจัดไวรัสร้าย
ขอบคุณภาพจาก : เฟซบุ๊ก สปสช., สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
ขอบคุณข้อมูลจาก : เฟซบุ๊ก สปสช., โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, กรมควบคุมโรค, กรมการแพทย์, กรุงเทพธุรกิจ
ข้อมูลจาก https://health.kapook.com/view250830.html