เรื่องที่ 021 กินอะไร (แล้ว) ดี !!! ตอน ปลูกเอง ปรุงเอง (GIY- GROW IT YOURSELF & DIY- DO เรื่องที่ 021 กินอะไร (แล้ว) ดี !!! ตอน ปลูกเอง ปรุงเอง (GIY- GROW IT YOURSELF & DIY- DO
4728Visitors | [2017-06-14] 

เรื่องที่ 021 กินอะไร (แล้ว) ดี !!! ตอน ปลูกเอง ปรุงเอง (GIY- GROW IT YOURSELF & DIY- DO IT YOURSELF ) โดยแพทย์หญิงฐิติพร  วงศ์ชัยสุริยะ

ท่านสามารถดาวโหลดไฟล์ต้นฉบับได้ที่ http://www.tmwa.or.th/new/lib/file/20170614201737.pdf


 

กินอะไร (แล้ว) ดี !!!

ตอน ปลูกเอง ปรุงเอง  (GIY- grow it yourself & DIY- do it yourself )

แพทย์หญิงฐิติพร  วงศ์ชัยสุริยะ
 
อายุรแพทย์โรคไต

เรื่องที่ 1 ผักผลไม้ปลอดภัย

ความสนใจของผู้คนทุกวันนี้หนีไม่พ้นเรื่องของอาหารและสุขภาพ หากเราได้รับอาหารดี สุขภาพก็ดีตามไปด้วย ผู้เขียนจึงตั้งใจจะทยอยเขียนเรื่องอาหารและสุขภาพไปเรื่อยๆ ด้วยแนวคิด อาหารปลอดภัยมาจากการเลือกของเราต้องเลือกเองไม่ว่าจะเป็นการเลือกซื้อ หรือการเลือกทำ ดังนั้นอะไรที่ปลูกเองได้ก็  “GIY - grow it yourself” อะไรทำเองได้ก็ “DIY - do it yourself”

ผัก ผลไม้ เป็นส่วนสำคัญของอาหาร ให้ทั้งกากใยหรือ fiber วิตามิน เกลือแร่ ในปี พ.ศ.2547 งานวิจัยขององค์การอนามัยโลกสรุปไว้ว่า ผัก ผลไม้ ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ หรือ NCDs อาทิ ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็ง โดยกำหนดปริมาณผัก ผลไม้ที่เหมาะสมกับช่วงอายุ ดังนี้

เด็กแรกเกิดถึง  4  ปี  ควรได้รับผัก-ผลไม้ประมาณ    330 กรัม

อายุ 5-14 ปี                                                              480 กรัม

อายุมากกว่า15 ปีขึ้นไป                                            500 กรัมขึ้นไป 

เท่ากับผู้ใหญ่ต้องกินผักวันละ 4-6 ทัพพี ผลไม้ 3-4 ส่วน

มีความน่าวิตกเรื่องสารตกค้างในผักผลไม้ไทย  ตามผลสำรวจ โดยเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือ ไทยแพน (Thai-PAN) ระหว่างวันที่ 16 -18 มีนาคม และ 23 - 29สิงหาคม 2559สำรวจในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล เชียงใหม่และอุบลราชธานี จำนวน 138ตัวอย่าง แสดงไว้ใน website  http://www.thaipan.org/node/831 มีเนื้อหาสำคัญดังนี้  

ภาพที่2

วัตถุอันตรายที่ไม่ควรพบ แต่กลับพบว่าตกค้างในผักผลไม้ !!!

ไทยแพนแถลงผลการตรวจสารพิษตกค้างในผักและผลไม้รอบที่ 2 ประจำปี 2559หลังจากสุ่มเก็บตัวอย่างผักและผลไม้ที่นิยมบริโภค 16ชนิดระหว่างวันที่ 23-29 สิงหาคม 2559 (จาก http://www.thaipan.org/node/849 )

·       พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตามรายชื่อวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ซึ่งยกเลิกการใช้แล้ว

ได้แก่ ไดโครโตฟอส  เอ็นโดซัลแฟน  เมทามิโดฟอส และโมโนโครโตฟอส 

·       รวมทั้งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่กรมวิชาการเกษตรไม่อนุญาตทะเบียน  2 ชนิด

คือ คาร์โบฟูราน และเมโทมิล  ตกค้างอยู่ในผลผลิตรวม 29 จาก 158 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 18.4%

ผู้บริโภคจำเป็นต้อง DIY เพราะการล้างผักผลไม้ถูกวิธีช่วยลดสารตกค้างอันตราย

มีคำแนะนำเรื่อง การล้างผัก ผลไม้ หลายคำแนะนำ  หลายวิธี แต่ละวิธีลดสารตกค้างได้แตกต่างกันไทยแพนให้คำแนะนำตามลำดับสารตกค้างที่พบจากการสำรวจ สรุปไว้ในตาราง

1.ล้างด้วยน้ำไหลเพื่อขจัดคราบของดิน สิ่งสกปรก แบคทีเรีย และเชื้อต่างๆ ตลอดจนสารพิษบางส่วน

2.แช่ผักและผลไม้ในน้ำส้มสายชู นาน 10-15 นาที ถ้าไม่มีน้ำส้มสายชูก็อาจใช้น้ำด่างทับทิมหรือโซเดียมไบคาร์บอเนตอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ประสิทธิภาพจะน้อยกว่าการใช้น้ำส้มสายชู

3.ล้างด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำไหลเพื่อชะล้างน้ำส้มสายชู และสารเคมีบางส่วนออก

ตอนหน้า  เรามาปลูกผักกินเองกันค่ะ

 

ไปตอนที่2  http://www.tmwa.or.th/new/view.php?topicid=648