เรื่องที่ 024 สมุนไพรไทย มีคุณ มีโทษ โดยพ.ญ. อัมพร กรอบทอง แพทย์ทางเลือกศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก เรื่องที่ 024 สมุนไพรไทย มีคุณ มีโทษ โดยพ.ญ. อัมพร กรอบทอง แพทย์ทางเลือกศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก
6027Visitors | [2017-07-13] 

สมุนไพรไทย มีคุณ มีโทษ

พ.ญ. อัมพร กรอบทอง 

แพทย์ทางเลือก ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก


ท่านสามารถดาวโหลดไฟล์ต้นฉบับได้ที่ http://www.tmwa.or.th/new/lib/file/20170713195709.pdf


 

ปัจจุบันสมุนไพรเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยมากขึ้นในการใช้รักษาโรคหรือการใช้เป็นอาหารเสริม แต่หากมีการนำสมุนไพรมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี สมุนไพรก็อาจจะก่อให้เกิดโทษต่อผู้ใช้ได้ การนำมาใช้จึงควรนำศึกษาให้มากที่สุดทั้งคุณและโทษ ในด้านของคุณประโยชน์ของสมุนไพรแต่ละอย่าง  มีการกล่าวอ้างมากมาย เรียกได้ว่าเป็นโฆษณาชวนเชื่อ จนแม้นแต่ตัวหมอเอง เวลาฟังยังเคลิ้มทีเดียว แต่สิ่งที่ผู้ขายไม่บอก คือ โทษหรือผลข้างเคียงของสมุนไพร

อันตรายจากการใช้สมุนไพร อาจเกิดจาก 

 

1.สมุนไพรที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้

ในกรณีนี้ เป็นการแพ้เฉพาะบุคคล เช่น การแพ้อาหารเสริม “นมผึ้ง”     

มีรายงานจากประเทศออสเตรเลียว่านมผึ้งทำให้ตายได้เนื่องจากอาการหืดในผู้ป่วยที่แพ้โปรตีนในนมผึ้ง

2. สมุนไพรที่ทำให้เกิดเกิดความเป็นพิษ ต่อตับหรือไต

 ในประเทศไทยเคยมีรายงานว่าใบขี้เหล็กในรูปแบบยาเม็ด ทำให้การเกิดตับอักเสบเฉียบพลัน ซึ่ง  ระดับความรุนแรงของภาวะตับอักเสบมีตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน  และมีตัวเหลืองตาเหลือง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงมีมติให้ระงับการผลิตและเก็บยา  สมุนไพรขี้เหล็กซึ่งเป็นสูตรยาเดี่ยวออกจากตลาด อีกตัวอย่างคือ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรลดน้ำหนักที่มี  aristolochic acid พบว่าทำให้การเกิดความผิดปกติที่ไตทำให้ เนื้อไตมีสภาพเป็นพังผืด

 3. สมุนไพรที่ทำให้เกิดผลข้างเคียง  

 ตัวอย่างที่พบเห็นบ่อยคือ กระเทียม ที่นิยมใช้ลดไขมันในเลือด แต่มีผลข้างเคียงคือทำให้เลือดออก  ง่าย  หรือสมุนไพร ใบแปะก้วย ที่ทานบำรุง ก็มีผลข้างเคียง  จึงต้องระมัดระวังอาจ

 เกิดเลือดออกในสมองได้  สมุนไพรอีกตัวที่ใช้กันมากเช่น ชุมเห็ด มีสรรพคุณช่วยระบาย ช่วยลดน้ำ  หนัก แต่อาจมีผลข้างเคียงเกิด  ลำไส้อักเสบได้

  4. การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร  

 สมุนไพรบางชนิดมีผลไปเสริมฤทธิ์ของยา บางชนิดกลับไปลดทอนฤทธิ์ของยา  ดังนั้นการทานสมุนไพร จึงควรแจ้งแพทย์ หรือแพทย์  แผนไทย ว่าท่านทานยาอะไรอยู่ เพื่อปรับขนาดยาให้เหมาะสม

 5. การใช้สมุนไพรผิดชนิด ผิดวิธี

อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้สมุนไพรส่วนหนึ่งเกิดจากความเข้าใจผิด ใช้สมุนไพรผิดชนิด เพราะมีรูปลักษณะคล้ายคลึงกัน หรือการนำมาใช้โดยผิดวิธี เช่น โบราณใช้มะเกลือผสมกะทิในการถ่ายพยาธิ แต่กลับนำไปต้มโดยไม่ผสมกะทิ อาจเกิดพิษทำให้ตาบอดได้

6. การปนเปื้อนในสมุนไพร  

การเลือกซื้อสมุนไพร ควรเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพราะหากสมุนไพรนั้นปลูกในที่ ที่มีการปนเปื้อน ไม่ว่าจะเป็นโลหะหนัก ยาฆ่าแมลง อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อร่างกายทั้งแบบเฉียบพลัน และสารบางอย่างอาจมีการสะสมและก่อให้เกิดอันตรายในระยะยาวตามมา 

7. สมุนไพรที่มีการปลอมปน 

จากการสุ่มตรวจสมุนไพร  หลายตัวอย่างจะพบการปนปลอมของสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา โดยเฉพาะ ยาสเตียรอยด์ที่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้หากใช้ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังพบ การปลอมปนยาแผนปัจจุบันอื่นๆ ได้แก่ พาราเซตามอล ยาแก้ปวดเมื่อย เป็นต้น

ที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ได้แปลว่าให้หยุดใช้สมุนไพรนะคะ ตรงข้าม หมออยากให้ใช้สมุนไพรไทย เพราะเชื่อมั่นใน ภูมิปัญญา แพทย์แผนไทย แต่อยากขอให้เลือกใช้

► ใช้ให้เป็น  ให้ถูกชนิด  ใช้ให้ถูกส่วน ใช้ให้ถูกขนาด ใช้ให้ถูกวิธี ใช้ให้ถูกกับโรค

ปรึกษาแพทย์แผนไทย ดูแหล่งที่ซื้อ 

► ระมัดระวังในการใช้  หยุดการซื้อยาตามคำโฆษณา หยุดการซื้อยาที่เพื่อนทานแล้วดี ร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่คนไทยมีนิสัยน่ารัก กินอะไรแล้วดี ก็ไปแนะนำเพื่อน  หากเชื่อเพื่อนก็อย่าลืมไปแจ้งแพทย์ว่ากินยานี้กับสมุนไพรตัวนี้ เพื่อแพทย์จะได้ช่วยดูว่ามีผลข้างเคียงอะไรหรือไม่     ใช้แล้วควรไปพบแพทย์ตรวจอาการว่า ควรลดยา หยุดยา หรือเพิ่มยา ตามอาการที่แพทย์ตรวจพบ  หากพบอาการผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์

► สตรีมีครรภ์ หรือให้นมบุตร และเด็กไม่ควรที่จะใช้สมุนไพรถ้าไม่จำเป็น โดยเฉพาะสมุนไพรที่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันความปลอดภัย เนื่องจากสารบางชนิดในสมุนไพร สามารถผ่านรก ขับออกทางน้ำนม หรือมีผลต่อการเจริญเติบโตได้