• slidebg1
  • slidebg1
  • slidebg1
  • slidebg1
  • slidebg1
  • slidebg1
2.มอบทุนต่อเนื่องเสริมพลังแพทย์สตรีในชนบท 2.มอบทุนต่อเนื่องเสริมพลังแพทย์สตรีในชนบท
3918Visitors | [2020-01-16] 

" ด้วยปรัชญา เสริมเจตนารมณ์ การยังคงเป็นแพทย์ในท้องถิ่นบ้านเกิดในส่วนภูมิภาค ช่วยลดปัญหาการกระจายตัวของแพทย์ไทย "


  2.มอบทุนต่อเนื่องเสริมพลังแพทย์สตรีในชนบท

1 / 3
2/ 3
3 / 3
 
 
 


   จากเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ พ.ศ. 2547 เป็นภาวะวิกฤติ ด้านการขาดแคลน ทรัพยากรทางการแพทย์ ในแถบฝั่งตะวันตก ของภาคใต้ เป็นระยะเดียวกับที่ สมาคมแพทย์สตรี ฯ ได้รับมอบทุนการศึกษาก้อนแรก ด้วยเงินจากกองมรดกของ Prof. Roussos (พ.ศ. 2548) จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข จัดเตรียมทุนการศึกษา มอบแก่นักศึกษาแพทย์สตรี ที่ครอบครัวได้รับความเดือดร้อนจากภัยครั้งนี้ด้วย นับเป็นการเพิ่มงานเพื่อสังคมที่จะช่วยบรรเทาภาวะ การขาดแคลนแพทย์ ในชนบท จากปีนี้ก็มีการมอบทุนต่อเนื่องทุกปีดังกล่าว จนในปัจจุบัน มีนักศึกษาแพทย์สตรีได้รับทุนทั้งสิ้น 105 คน เป็นแพทย์สตรีจบการศึกษา ทำงาน รับใช้ ชาติ อยู่ในพื้นที่บ้านเกิดจำนวน 32 คน กำลังศึกษา อยู่ใน 14 มหาวิทยาลัย อีก 71 คน รวมเป็น 103 คน (ต.ค. 2562) มีลาออกจากการรับทุน 2 คน ดังภาพด้านล่าง

นักศึกษาแพทย์ได้รับทุน (นักศึกษากำลังเรียน)

นักศึกษาแพทย์รับทุน จบการศึกษาแล้ว ทำงานกระจายในภูมิภาคทั่วประเทศ


  รายชื่อมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ ที่มีนักศึกษาแพทย์สตรี รับทุนของสมาคม และที่จบแล้ว

  จำนวนทุน จบการศึกษา ยังคงเรียนอยู่ หมายเหตุ
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1 - 1 -
2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6 2 4 -
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 8 4 3 *งดรับทุน1
4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี   7 3 4 -
5. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 8 1 7 -
6. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2 1 1 -
7. มหาวิทยาลัยนเรศวร     5 4 2 -
8. มหาวิทยาลัยมหิดล      10 5 5 -
9. มหาวิทยาลัยบูรพา       1 - 1 -
10. มหาวิทยาลัยพะเยา    3 - 2 *ย้ายคณะ1
11. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม       6 3 3 -
12. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 11 2 9 -
13. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 6 4 2 -
14. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 30 3 27 -


   การเกิดทุนนักศึกษาแพทย์สตรี ของสมาคมแพทย์สตรีฯ และด้วยปรัชญา เสริมเจตนารมณ์การยังคงเป็นแพทย์ในท้องถิ่นบ้านเกิดในส่วนภูมิภาค ช่วยลดปัญหาการกระจายตัวของแพทย์ไทย ซึ่งแม้ว่ารัฐบาลไทยจะขยายการศึกษาแพทย์ไปทั่วประเทศ เพิ่มหน่วยงานทางการแพทย์ในเขตต่างๆ แพทย์จบใหม่ส่วนใหญ่ ยังเคลื่อนย้ายมาทำงานในเมืองใหญ่ หลังการปฏิบัติงานเพิ่มพูนทักษะ ที่เป็นภาคบังคับ 3 ปี เป็นผลให้ อัตราส่วนของแพทย์ต่อประชากร ใน กทม. คือ 1 ต่อ 867 คน ขณะที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอัตราส่วน 1 ต่อ 7,015 คน เป็นต้น ตามโครงการนี้ หลังจากจบแพทย์แล้ว ผู้รับทุนก็สามารถที่จะศึกษาเพิ่มเติมตามความถนัดแต่ยังคงทำงานในท้องถิ่น ดังกล่าว โดยจะมีการรับสมัคร การคัดเลือก และมอบทุน ให้ทุกปี ในการประชุมใหญ่ สมาคมแพทย์สตรีฯ (ต.ค.2562) โดยเบื้องต้น สมาคมจะประสานขอรายชื่อนักศึกษาแพทย์สตรี ที่มีความประสงค์ขอรับทุน ผ่านสถาบันพระบรมราชชนก สถาบันหลักทำหน้าที่ในการพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุข ของกระทรวงสาธารณสุข และการประสานโดยตรงกับคณะแพทย์ศาสตร์ต่างๆ รวมทั้งผู้เสนอขอรับทุนโดยตรงผ่านสมาคมฯ ทุนจะครอบคลุมรายจ่ายรายเดือน และทุนการศึกษาตลอด 6 ปี แต่ผู้ที่เกิดความจำเป็นระหว่างหลักสูตร อาจขอให้พิจารณาได้เช่นกัน

   จำนวนทุนในแต่ละปีจะได้  ตามปริมาณเงินที่ได้รับสนับสนุนจากผู้บริจาค โดยทั่วไปประมาณ 2–5  ราย  ยกเว้น ใน พ.ศ.  2556 และ พ.ศ.2562  มากกว่า 10 ทุน เนื่องจาก มูลนิธิคุณแม่ ลิ้มกิมเกียว ของบริษัทสี TOA จะมอบให้ ปีละ 10 ทุน ทุก 6 ปี


 ความมุ่งมั่นของสมาคมแพทย์สตรี ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข


   ด้วยวิสัยทัศน์ และการสนับสนุน ของผู้ริเริ่มจัดตั้งทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาแพทย์  และคณะกรรมการโครงการนี้  ได้มีการดำเนินงานมาแล้วกว่า 14 ปี จากการเห็นชอบของ พญ.สุวณี รักธรรม นายกสมาคมผู้เห็นชอบในขณะนั้น  และสามารถเติบโตต่อเนื่องมาได้ โดยนายกสมาคมท่านต่อๆมา  ร่วมกับการมุ่งมั่นทำงานของคณะกรรมการคัดเลือก  ที่นำโดย ศจ เกียรติคุณ ดร.พญ. คุณนันทา  มาระเนตร์  รศ.ดร.พญ.อรพินท์  สิงหเดช พญ.จันทรา เจณณวาสิน  ศจ.คลินิก พญ. ศิราภรณ์  สวัสดิวร และ พญ.ภัทริยา จารุทัศน์ ร่วมกันทำงานมาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากโครงการร่วมผลิตแพทย์เพื่อชนบท กระทรวงสาธารณสุข คัดนักศึกษาจาก หลากหลายจังหวัด ที่มีจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ ให้ ทางสมาคมได้พิจารณาเป็นรายคน  มาตลอด 14 ปีของโครงการนี้