• slidebg1
  • slidebg1
  • slidebg1
  • slidebg1
  • slidebg1
  • slidebg1
1.ทำไม อย่างไร 1.ทำไม อย่างไร
5307Visitors | [2020-01-16] 

" การรวมพลัง ทั้งจากกัลยาณมิตร ต่างประเทศและไทย เป็นผลเริ่มต้นจากความรักและความศรัทธาที่คนต่างชาติมีต่อประเทศไทย "


  1.ทำไม อย่างไร
  ทุนการศึกษาสมาคมแพทย์สตรี เพื่อนักศึกษาแพทย์สตรี ในชนบท


  แรงบันดาลใจ ศจ.ดร.กุสุมา สนิทวงศ์
  เมื่อรู้ว่าชนบทประเทศไทยขาดแคลนแพทย์


    ศจ.ดร.กุสุมา สนิทวงศ์ เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ ด้านการศึกษาความมั่นคงระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นธิดาของ นพ.มล.เต่อ  สนิทวงศ์ แพทย์ผู้ได้รับทุนพระราชทานจาก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีไปศึกษาวิชาการแพทย์ที่สหรัฐอเมริกา และกลับมาทำงานเป็นแพทย์ชนบท อยู่ที่ รพ.จังหวัดอุบลราชธานี และมีบทบาทสำคัญในอีกหลายโรงพยาบาลในต่างจังหวัด   รวมถึงการเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน  ทำให้ ศจ.ดร.กุสุมา ได้รับทราบปัญหาการขาดแคลนแพทย์และการบริการด้านสาธารณสุขในชนบทของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง และมีความมุ่งมั่นจะหาโอกาสช่วยแก้ไข

ศจ.ดร.กุสุมา สนิทวงศ์ สำเร็จการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย TUFT ใกล้บอสตัน ได้รับปริญญาเอกจาก  Fletcher school of Law and Diplomacy  ได้ร่วมก่อตั้งและเป็น Chairman ของ ASEAN Institute of Securities and International Studies มีบทบาทสำคัญ ในฐานะที่ปรึกษา ด้าน กิจการความมั่นคงระดับภูมิภาค และ นานาชาติ แก่รัฐบาลไทยด้วย   


  มิตรภาพ นำสู่โอกาสการแก้ไข


   ช่วงกลางของ ปี พ.ศ. 2523  ระหว่างการไปเยี่ยมญาติของท่าน  มล. พีระพงษ์ เกษมศรี เอกอัครราชทูตไทย ประจำประเทศญี่ปุ่น  ศจ.ดร.กุสุมา ได้พบกับ Professor Jason Roussos ในฐานะมิตรที่ดีต่อกัน จึงให้คำแนะนำที่จะใช้เงิน จากกองมรดก ของProfessor Jason Roussos ส่วนหนึ่ง มาใช้จัดตั้งกองทุน การศึกษาในประเทศไทย สำหรับแพทย์ที่ตั้งใจอุทิศตัวเพื่อการทำงานในชนบท


  Professor Jason Roussos  ผู้เริ่มต้นมอบทุนก้อนแรก


   Professor Jason Roussos  ถือกำเนิดในประเทศกรีซ เริ่มศึกษาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัย  Brandeis ใกล้เมืองบอสตัน และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้าน  Philosophy  ที่  Oxford University อยู่ในครอบครัวที่มีความผูกพัน กับประเทศไทย ตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ระหว่างการเป็นอาจารย์ด้านปรัชญาวิทยาที่ญี่ปุ่นนั้น เขาเคยมาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอีกหลายมหาวิทยาลัย  ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2531 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชมิตราภรณ์มงกุฎไทย อันมีเกียรติยิ่ง จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

1 / 3

ศจ.ดร.Jason Roussos

2/ 3

ศจ.ดร.กุสุมา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และพญ.สุวณี รักธรรม

3 / 3

 

 
 
 

  นำฝัน สู่การเกิดทุนการศึกษา นักศึกษาแพทย์สตรีฯ


  เมื่อ Dr.Jaaon Roussos จากไป Dr.George Curuby ผู้จัดการกองมรดก ได้ทราบถึงความรัก ความผูกพันและศรัทธา ที่ Dr.Jason Roussos มีต่อประเทศไทย ทั้งจากการได้มาสอนหนังสือให้กับหลายมหาวิทยาลัยประเทศไทย ได้พบปะเพื่อนคนไทย และประจักษ์ในพระกรณียกิจในหลวง รัชกาลที่ 9 Mrs. Tomoko Kanno ภริยา Dr. George Curuby ได้ช่วยประสาน ศ ดร.กุสุมา ยืนยันความตั้งใจ เจ้าของทุน ในการจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบท Dr.George Curuby จึงได้นำเงินกองทุน เริ่มต้นจำนวน 5 ล้านบาท มามอบให้ พญ.สุวณี รักธรรม นายกสมาคมแพทย์สตรีไทยฯ ในขณะนั้น เพื่อสนับสนุนให้โอกาสเด็กผู้หญิงในชนบทที่มีความสามารถพร้อมที่จะเป็นแพทย์ได้ แต่ขาดเพียงโอกาสทางการเงิน. และจุดเริ่มต้นนี้ก็ได้ถูกต่อยอด มีผู้มีจิตกุศลเข้ามาร่วมบริจาคสนับสนุน มาจนถึงปัจจุบัน ทำให้เกิด ทุนการศึกษา นักศึกษาแพทย์สตรี สมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทย


  ก้าวแรกนำก้าวต่อไป


   ในปีแรกของการให้ทุน   เป็นเงินจากมรดกของ Dr.Jason Roussos  จำนวน 100,000 $ สำหรับนักศึกษาแพทย์สตรีในชนบทจำนวน  11 ทุน   ในปีต่อๆ ไป โดยความตั้งใจอย่างยิ่งยวด ของ Dr.George Curuby ซึ่งมีความผูกพันกับโครงการ.  จึงใช้เงินส่วนตัวสลับกับการขวนขวายหาผู้บริจาคจากต่างประเทศ และการต่อยอดโดยสมาชิกของสมาคมฯ จึงมีการบริจาคและมอบทุน โดย นักธุรกิจ ผู้ศรัทธาในงานของสมาคม. แพทย์สตรีสมาชิกของสมาคม ฯลฯ ตัวอย่างเช่น    ใน พ.ศ. 2555 นักธุรกิจชาวอเมริกัน Mr.Sheldon & Mrs. Cindy and Stone Family ผู้เป็นเพื่อน Dr.George  Curuby ในนาม “Stone Family Foundation” ได้ร่วมบริจาค ทุนทรัพย์ เริ่มต้น 1,144,000 บาท ผ่านสมาคมแพทย์ไทยในอเมริกา  และบริจาคต่อเนื่อง นับถึงปัจจุบัน (ต.ค. 2562) รวมเป็นเงิน 16,291,507บาท  สำหรับนักศึกษา 33 คน  ใน พ.ศ. 2556 มูลนิธิ คุณแม่ ลิ้มกิมเกียว ของบริษัทสี TOA ได้มอบทุนให้รวดเดียว 8 ทุนและมีปณิธานจะให้ต่อเนื่อง 10 ทุนทุก 6 ปี   นับถึงปัจจุบันเป็นยอดทุน 8,460,000 บาท สำหรับนักศึกษา 18 คน และมีผู้มีจิตกุศลคนไทย เข้ามาร่วมสนับสนุนอีกมาก อาทิ แพทย์สมาชิกของสมาคม  ผู้เมตตาชาวไทยจากทุกวงการ

   การรวมพลัง ทั้งจากกัลยาณมิตร ต่างประเทศและไทย  เป็นผลเริ่มต้นจากความรักและความศรัทธาที่คนต่างชาติมีต่อประเทศไทย และคนไทยเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน ช่วยสนับสนุนแพทย์สตรีให้ได้เป็นกำลังสำคัญในการช่วยพัฒนาการสาธารณสุขไทยให้กับท้องถิ่นทางไกล นับจนวันนี้กว่า 14 ปี


  ปรัชญา / แนวความคิด


   ทุนการศึกษานักศึกษาแพทย์สตรี สมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทย เป็นทุนเกียรติยศ ไม่ต้องจ่ายคืน

  มีเพียงสัญญาใจ ในการช่วยเป็นแพทย์ รับใช้สังคม ที่บ้านเกิด หรือ ในภูมิภาคใดๆ ของประเทศไทย